top of page
  • Google+ Social Icon
  • Twitter Social Icon
  • LinkedIn Social Icon
  • Facebook Social Icon

สถานีรถไฟหัวลำโพง

 พระบาทสมเด็จ              พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

   รัชกาลที่ 5

กิจการรถไฟถือกำเนิดขึ้นในสมัย ร.5 ด้วยเหตุผลทางด้านการเมือง จากนโบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส พฤติการณ์ของมหาอำนาจตะวันตกขณะนั้นเป็นเหตุการณ์ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงดำริสร้างทางรถไฟของรัฐ ด้วยทรงเห็นว่าลำพังทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางคมนาคมไม่เพียงพอแก่การทำนุบำรุงรักษาราช อาณาเขต 

ป้องกันการรุกรานและเปิดภูมิประเทศให้ประชาชน

RECENT POSTS

               สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งคำว่าหัวลำโพง สันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามคลองและทุ่งที่มีฝูงวัวที่วิ่งกันคึกคัก ที่เรียกว่า ทุ่งวัวลำพอง และได้เพี้ยนเสียงมาเป็น หัวลำโพง บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้

               สถานีนี้เริ่มสร้างในสมัย รัชกาล 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟหัวลำโพง เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟหัวลำโพงให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่ง มวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ

    สถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบัน    

  สถานีรถไฟหัวลำโพงในอดีต  

            ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค (Classicism) คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก – โรมัน จุดเด่นของสถานีหัวลำโพงอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัว     

อาคารมุขหน้า

ที่จำหน่ายตั๋ว

ชานชาลา

ชานชาลา

ชานชาลา

ชานชาลา

ร้านค้าต่างๆ

อาคารโถงสถานี

         บริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก มีร้านค้าหลากหลาย ได้แก่ ร้านอาหาร ขนม เครื่อง ดื่ม ผลไม้  ขนมปัง ไอศกรีม หนังสือ ร้านขายยา ฯลฯ ก่อนถึงห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้ายังมีห้องละหมาดอีกด้วย เหนือห้องประชาสัมพันธ์มีจอภาพขนาด 300 นิ้ว ควบคุมด้วยระบบ DOLBY DIGITAL ฉายเรื่องราวเกี่ยวกับการรถไฟ ส่วนชั้นลอย มีที่นั่งไม่มากนัก มีบริษัททัวร์ บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และร้านกาแฟ

กิจการรถไฟในปัจจุบัน มีเส้นทางที่ออกจากสถานีหัวลำโพง จำนวน 4 สาย และมีสถานนีรถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการอยู่ภายในชั้นใต้ดินของสถานีรถไฟ

 สถานีรถไฟหัวลำโพงในอนาคต 

       สถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นคมนาคมที่ต้องปรับตัวสู้กับความทันสมัย ในอนาคตสถานีแห่งนี้ จะถูกปรับบทบาทให้เป็นพิพิธภัณฑ์และรองรับการเดินรถไฟสายสั้นและรถไฟสายท่องเที่ยว จากปัจจุบันที่มีรถไฟวิ่งเข้า-ออกวันละกว่า 200 เที่ยว ส่วนการเดินที่เหลือ จะย้ายไปยัง "สถานีกลางบางซื่อ" ที่ว่ากันว่าจะกลายเป็น "สถานีหัวลำโพง 2" 

 สำหรับการพัฒนา "สถานีหัวลำโพง" 


         แบ่งเนื้อที่ 121 ไร่ พัฒนาเป็นพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย รับกับทำเลเป็นทั้งย่านเศรษฐกิจ ที่พักอาศัย และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางมีรถไฟฟ้าพาดผ่านการพัฒนา ใช้ระยะเวลา 20 ปี แบ่งเป็น 4 เฟส 
เฟสที่ 1 พัฒนาในส่วนของอาคารสำนักงาน ร.ฟ.ท. สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม อาคารบัญชาการและตึกแดงของ ร.ฟ.ท.ในปัจจุบัน เป็นอาคารสำนักงานทั้งของ ร.ฟ.ท.และเอกชนและร้านค้า

 
เฟสที่ 2 บริเวณรางรถไฟปัจจุบัน สวนรถไฟและอาคารต่าง ๆ ทั้งสำนักงานตำรวจรถไฟ อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน พื้นที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม พัฒนาเป็นศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม และสวนสาธารณะ 


เฟสที่ 3 บริเวณพื้นที่สถานีหัวลำโพงและโรงแรมราชธานีและบริเวณถนนรองเมือง จะพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ ศูนย์ประชุม ศูนย์การค้าและโรงแรม 

เฟสที่ 4 จะพัฒนาเป็นศูนย์การค้า อาคารสำนักงานที่พักอาศัย โรงแรม และสวนสาธารณะ 

  • Grey Google+ Icon
  • Grey Twitter Icon
  • Grey LinkedIn Icon
  • Grey Facebook Icon

© 2023 by Talking Business.  Proudly created with Wix.com

bottom of page