สถานีรถไฟหัวลำโพงในอดีต




สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งคำว่าหัวลำโพง สันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามคลองและทุ่งที่มีฝูงวัวที่วิ่งกันคึกคัก ที่เรียกว่า ทุ่งวัวลำพอง และได้เพี้ยนเสียงมาเป็น หัวลำโพง บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้
สถานีนี้เริ่มสร้างในสมัย รัชกาล 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟหัวลำโพง เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟหัวลำโพงให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่ง มวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ

พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5
กิจการรถไฟถือกำเนิดขึ้นในสมัย ร.5 ด้วยเหตุผลทางด้านการเมือง จากนโบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส พฤติการณ์ของมหาอำนาจตะวันตกขณะนั้นเป็นเหตุการณ์ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงดำริสร้างทางรถไฟของรัฐ ด้วยทรงเห็นว่าลำพังทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางคมนาคมไม่เพียงพอแก่การทำนุบำรุงรักษาราช อาณาเขต
ป้องกันการรุกรานและเปิดภูมิประเทศให้ประชาชน